ไสว เลี่ยมแก้ว

ไสว เลี่ยมแก้ว

Print Friendly, PDF & Email

ไสว เลี่ยมแก้ว

รองศาสตราจารย์ ดร.

ประวัติ

นายไสว เลี่ยมแก้ว (Mr. Swai Liamkaew) เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2478 ที่ ตำบลบางศาลา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรคนที่ 1 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 2 คน ของนายม่อย และนางพลับ เลี่ยมแก้ว สมรสแล้วกับนางสมใจ เลี่ยมแก้ว มีบุตรธิดาจำนวน 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญคือ จิตวิทยาการศึกษา

การศึกษา

-มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2497
-บม.ช. วิทยาลัยเพาะช่าง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2502
-กศ.บ. วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปัจจุบัน)สาขาอาชีวศึกษา พ.ศ. 2507
-กศ.ม. (สาขาวัดผลการศึกษา) วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร(มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปัจจุบัน) พ.ศ. 2514
-ค.ด./Ph.D. (สาขาจิตวิทยาการศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2521

การฝึกอบรม ดูงาน

-การฝึกอบรมในโครงการ Thai University Lecturer ณ Monash University,Australia เมื่อปี พ.ศ. 2524 เป็นเวลา 5 เดือน
-เข้าร่วมสัมมนา HERDSA ณ ประเทศ Australia ปี พ.ศ. 2524
-อบรมโครงการจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง กรุงเทพมหานครพ.ศ. 2523
-ดูงานและหารือการวิจัยร่วมกันภายใต้โครงการ Sisters University Agreement : PSU –UWA ณ University of Western Australia
-ประชุมทางวิชาการเรื่อง Interdisciplinary Collaboration in ASAIHL University,
Singapore ระหว่างวันที่ 8 - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2530
-ประชุมทางวิชาการเรื่อง University Education in the 1990s ระหว่างวันที่ 4 - 7
ธันวาคม 2532

สมาคม ชมรม มูลนิธิที่เป็นสมาชิก

สมาคมจิตวิทยาความมั่นคงแห่งประเทศไทย

การทำงาน

-ครูโรงเรียนบ้านหนองหว้า อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2502-2508
-ศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2509-2515
-อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ (ลาออกบรรจุใหม่) 1 มิถุนายน 2515-
-รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ตำแหน่งต่าง ๆ ทางการบริหาร งานวิชาการ และอื่น ๆ

-ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2517-2518
-รองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2522-2523
-หัวหน้าภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2524-2527
-รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2528-2531
-คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2531-30 มิถุนายน 2535

ผลงานการบริหารขณะอยู่ในตำแหน่ง

-ประธานกรรมการเตรียมการเปิดสอนระดับปริญญาโทของคณะ นับเป็นการเริ่มต้นของวิทยาเขตปัตตานี ทั้งนี้เริ่มต้นเปิดสอนปริญญาโท สาขาจิตวิทยาเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2522-2523 ขณะดำรงตำแหน่งรองคณบดี คณะศึกษาศาสตร์
-ประธานกรรมการร่างหลักสูตรปริญญาโทสาขาจิตวิทยาการศึกษา พ.ศ. 2523-2525ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
-ดำเนินการเปิดสอนปริญญาโทสาขาจิตวิทยาเป็นสาขาแรกของวิทยาเขตปัตตานี
พ.ศ. 2526 ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
-ผลักดันให้จัดตั้งสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัยที่วิทยาเขตปัตตานี และสำเร็จเมื่อปี
พ.ศ. 2528 ขณะดำรงตำแหน่งรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
-ริเริ่มเสนอโครงการปริญญาโทภาคสมบทของคณะศึกษาศาสตร์ และดำเนินการจนสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2532 ขณะดำรงตำแหน่งรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
-จัดสร้างห้องพฤติกรรมศาสตร์ ห้องพัฒนาหลักสูตร พ.ศ. 2533-2534 ขณะดำรงตำแหน่ง
คณบดีคณะศึกษาศาสตร์
-จัดสร้างอาคารศิลปศึกษา งบประมาณปี 2535 ขณะดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศึกษาศาสตร์

ผลงานทางวิชาการ

ตำรา
- ไสว เลี่ยมแก้ว. 2516. การวัดผลและการประเมินผลการศึกษา. ยะลา : ยะลาการพิมพ์.
-ไสว เลี่ยมแก้ว. 2527. ความจำของมนุษย์ : ทฤษฎีและวิธีสอน. ปัตตานี : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2527.
- ไสว เลี่ยมแก้ว. 2525. จิตวิทยาความจำ : ทฤษฎีและการสอน. ปัตตานี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
-ไสว เลี่ยมแก้ว. 2528. จิตวิทยาในห้องเรียน : การสอน. ปัตตานี : คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (โครงการตำรามูลนิธิมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อันดับที่ 1/2527)
-ไสว เลี่ยมแก้ว. 2525. บทบาทของความแข็งของการตอบสนองที่มีต่อการเรียนรู้
มโนทัศน์. ปัตตานี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, (สำเนา)
-ไสว เลี่ยมแก้ว. 2526. ปรัชญาจิตวิทยาเบื้องต้น. ปัตตานี : คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (สำเนา)
-Herriman, M.L., Tunmer, W.E. and Liamkaew, S. 1986. Problems of Educational
-Acheivement Among Malay Speaking Students in Southern Thailand,
Presented at the Annual Meeting of the AERA, San Francisco, April 1986. (ทุน UWA)

บทความในวารสาร
- ชัยพร วิชชาวุธ และไสว เลี่ยมแก้ว. 2522. "ทฤษฎีสองกระบวนการ" (Two -ProcessTheory of Concept Learning), รูสมิแล (4), 41-46.
-ไสว เลี่ยมแก้ว. 2532. "คณะศึกษาศาสตร์ในอนาคต", วารสารศึกษาศาสตร์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 6(กุมภาพันธ์-กรกฎาคม),
74-87.
-ไสว เลี่ยมแก้ว. 2528. "ความขัดแย้งระหว่างบุคคล", วารสารศึกษาศาสตร์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 1(มิถุนายน-กันยายน), 1-8
ไสว เลี่ยมแก้ว. 2514. "ความคิดสร้างสรรค์และความถนัดทางการเรียน", วารสารจิตวิทยา,52-64.
-ไสว เลี่ยมแก้ว. 2517. "ความสามารถทางสมองของมนุษย์", รูสมิแล, 3(พฤษภาคม-
มิถุนายน), 33-38.
-ไสว เลี่ยมแก้ว. 2517. "ความหมายของคะแนนและการตัดเกรด",รูสมิแล, 3(กันยายน-ตุลาคม), 59-63.
-ไสว เลี่ยมแก้ว. 2526. "จิต", รูสมิแล, 6 (พฤษภาคม-สิงหาคม), 22-26.
-ไสว เลี่ยมแก้ว. 2527. "จิตนิพพานกับการศึกษา", พิชญ์, 2(ตุลาคม 2526-มกราคม 2527),19-33.
-ไสว เลี่ยมแก้ว. 2531. "จิตภาษาศาสตร์ : แหล่งผลิตภาษา", รูสมิแล, 12(กันยายน-
ธันวาคม), 23-25, 86.
-ไสว เลี่ยมแก้ว. 2523. "จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์", พิชญ์, (1), 9-14.
-ไสว เลี่ยมแก้ว. 2531. "จิตวิทยาและการเรียนรู้คำ", วารสารศึกษาศาสตร์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 4(มิถุนายน-กันยายน), 81-91.
-ไสว เลี่ยมแก้ว. 2528. "ทฤษฎีการสอน", วารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 1(ตุลาคม 2527-มกราคม 2528), 41-45.
-ไสว เลี่ยมแก้ว. 2518. "ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์", วารสารจิตวิทยาคลีนิก, 23-29.
-ไสว เลี่ยมแก้ว. 2525. "ทฤษฎีความน่าจะเป็นกับทฤษฎีทางจิตวิทยา", พิชญ์, (1), 35-50.
-ไสว เลี่ยมแก้ว. 2524. "ทฤษฎีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน", วารสารการวิจัยทางการศึกษา,11(เมษายน-มิถุนายน ), 6-9. บทคัดย่อหน้า 1, บทคัดย่อภาษาอังกฤษหน้า 92;คุรุปริทัศน์, 6(พฤษภาคม 2524), 24-26.
- ไสว เลี่ยมแก้ว. 2525. "แนวความคิดในการพัฒนาศึกษาศาสตร์", พิชญ์, (1), 13-17.
- ไสว เลี่ยมแก้ว. 2525. "บทบาทของความแข็งของการตอบสนองที่มีต่อการเรียนรู้
มโนทัศน์", รูสมิแล, (6), 49-53.
- ไสว เลี่ยมแก้ว. "บทบาทของความคิดอเนกนัยและความคิดเอกนัยในการเรียนรู้มโนทัศน์”,เรียนรู้มโนทัศน์", ในบทคัดย่อผลงานวิจัย 2519-2523. หน้า 121-122,
- ไสว เลี่ยมแก้ว. 2517. "แบบการสอน", รูสมิแล, 3(มีนาคม-เมษายน), 19-20.
- ไสว เลี่ยมแก้ว. 2517. "ปรัชญากับการศึกษา", รูสมิแล, 3(มีนาคม-เมษายน)
59-62, 80.
- ไสว เลี่ยมแก้ว. 2527. "พฤติกรรมวิทยาศาสตร์", พิชญ์, (3)
- ไสว เลี่ยมแก้ว. 2517. "มองการศึกษาไทยในปัจจุบัน", รูสมิแล, 3(พฤศจิกายน-ธันวาคม),39-40.
- ไสว เลี่ยมแก้ว. 2525. "มโนทัศน์" (The Role of Response Strength in Concept
Learning), วารสารรูสมิแล, (6), 49-53.
- ไสว เลี่ยมแก้ว. 2525. "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี", วารสารวิทยาศาสตร์, (5), 1-11.
- ไสว เลี่ยมแก้ว. 2522. "วิธีสอนกับความแตกต่างระหว่างบุคคล", รูสมิแล, (4), 17-23.
- ไสว เลี่ยมแก้ว. 2528. "วิธีสอนแบบทาบา", วารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, (1), 41-45.

รางวัลหรือปริญญากิตติมศักดิ์ที่ได้รับ

หมายเหตุ

งานอดิเรกของ นายไสว เลี่ยมแก้ว คือ เขียนภาพสีน้ำและเขียน บทความทั่ว ๆ ไป เป้าหมายของชีวิตคือ การค้นคว้าหาตัวความรู้ (Body of Knowledge) ด้านจิตวิทยาโดยเฉพาะในปริเขตของพุทธิ (Cognitive Domain) เพื่อบันทึกไว้ใช้ในการอธิบาย พยากรณ์ และควบคุมปรากฏการณ์ หรือเหตุการณ์ทางจิตวิทยาหรือพฤติกรรมของมนุษย์ สำหรับบุคคลรุ่นร่วมสมัย และรุ่นต่อไปในอนาคต และนายไสว เลี่ยมแก้ว ยิ่งให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า สถานการณ์ด้านพฤติกรรมและไม่ใช่พฤติกรรมในมหาวิทยาลัยเกือบทั่วประเทศ ในปัจจุบันนี้ นอกจากจะไม่เจตนาจำเพาะที่จะแสวงหาสมองที่ค่อนข้างอัจฉริยะมาใส่ไว้ในรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว ยังไม่จงใจที่จะรักษาสมองเหล่านั้น (ที่มีอยู่แล้ว) และไม่รู้ตัวว่าสมองที่มีอยู่แล้วนั้นถูกบีบคั้นให้หลุดลอยออกไปจากรั้วของมหาวิทยาลัยอีกด้วย นับเป็นอุปสรรคที่น่ากลัวของความเป็นเลิศทางวิชาการของมหาวิทยาลัยทั้งปัจจุบันและอนาคต