ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์

ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์

Print Friendly, PDF & Email

ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์

ศาสตราจารย์ ดร.

การศึกษา

- มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอำนวยศิลป์ พ.ศ. 2484
- เตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2487
- แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2495
- Dr. Med. มหาวิทยาลัยฮัมเบร์ก ประเทศเยอรมนี พ.ศ. 2502
- M. Ed. มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2515

การฝึกอบรม ดูงาน

- Neurophysiology คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซ็นต์หลุยส์ มิสซูรี สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2508-2509
- Electroencephalography ณ Institute of Neurology Queen Square, London, U.K. พ.ศ. 2502 เป็นเวลา 3 เดือน

สมาคม ชมรม มูลนิธิที่เป็นสมาชิก

- แพทยสภา
- แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย
- มูลนิธิมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

การทำงาน

- แพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พ.ศ. 2495-2497
- อาจารย์แผนกวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พ.ศ. 2497
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2510 และ พ.ศ. 2515
- เกษียณอายุราชการ เมื่อ พ.ศ. 2532

ตำแหน่งต่าง ๆ ทางการบริหาร งานวิชาการ และอื่น ๆ

- เลขานุการคณะแพทยศาสตร์และเลขานุการกรรมการประจำคณะฯ พ.ศ.2512-2518
- หัวหน้าหน่วยแพทยศาสตร์ศึกษา พ.ศ.2515
- รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2518-2521
- ผู้อำนวยการโครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบท (MESRAP) ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2521
- ที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกทางบุคลากรสาธารณสุขประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- รักษาการคณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 19 กุมภาพันธ์ 2522 - 19 กรกฎาคม 2522
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 19 กรกฎาคม 2522 - 31 พฤษภาคม 2528 (2 วาระติดต่อกัน)
- ที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกด้านแพทยศาสตร์ศึกษา ประจำประเทศบังคลาเทศ พ.ศ. 2529-2531
- ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการชาดไทย ฝ่ายพัฒนาบุคลากร พ.ศ. 2532-2533
- รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย พ.ศ. 2533
- ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ.2539-2543
- ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษา (พปค.) สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ

ผลงานการบริหารขณะอยู่ในตำแหน่ง

- ดำเนินการจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขณะดำรงตำแหน่ง อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2525-2528
- จัดตั้งสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง ศูนย์คอมพิวเตอร์ สำนักวิจัยและพัฒนา วิทยาลัยอิสลามศึกษา และวิทยาลัยชุมชนภูเก็ตขึ้นเป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะ
- เริ่มเปิดสอนหลักสูตรอิสลามศึกษาขึ้นในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- รับนักเรียนจากโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามเข้าเรียนในโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อให้มีโอกาสเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพิ่มมากขึ้น
- จัดตั้งศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจในการที่จะผสมผสานกลุ่มและบุคคลต่าง ๆ ให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม
- จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมราชชนกที่วิทยาเขตหาดใหญ่
- ดำเนินการสืบเนื่อง จัดสร้างอาคารสำนักงานอธิการบดีโดยได้รับความอนุเคราะห์จากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด จนสำเร็จ
- เวนคืนที่ดิน และดำเนินงานให้ผู้บุกรุกออกจากเขตมหาวิทยาลัย วิทยาเขตหาดใหญ่
- ดำเนินการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลสงขลานครินทร์จนแล้วเสร็จ เปิดให้บริการในส่วน 100 เตียง ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2525
- ผลักดันให้สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ดำเนินการออกอากาศได้ในปี 2524
- ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ การสอน การวิจัย และการประยุกต์ใช้ความรู้ และวิทยาการเพื่อพัฒนาประเทศ อาทิ มหาวิทยาลัยออสเตรเลียตะวันตก มหาวิทยาลัยอาเบอร์ดีน มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ และมาหวิทยาลัยมิสซูรี

ผลงานทางวิชาการ

- ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์. 2531. "การเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนกลุ่มย่อย", สงขลานครินทร์เวชสาร 6(กรกฎาคม-กันยายน), 330-333.
- ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์. 2531. "ทักษะการแก้ปัญหากับการเรียนรู้โดยการใช้ปัญหาเป็นหลัก",
สงขลานครินทร์เวชสาร, 6(เมษายน-มิถุนายน), 222-224.
- ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์. 2530. "ทิศทางของแพทยศาสตร์ศึกษา : 13 ปี ก่อน ค.ศ. 2000",
สงขลานครินทร์เวชสาร, 5(กรกฎาคม-กันยายน), 345-349.
- ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์. 2530. "ทิศทางใหม่ของการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ", วารสารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 11(มกราคม-มิถุนายน), 96-105.
- ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์. 2521. "การพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต", สารศิริราช,
(30), 2243-2254.
- กอบจิตต์ ลิมปพยอม และทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์. 2517. "วิธีบรรยายที่ดีควรเป็นอย่างไร", จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 19(2517), 59-72.
- ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์. 2516. "การพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตร์", แพทยสภาสาร, 2(กรกฎาคม 2516), 487-500.
- ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์ และไพรัช วิเชียรเกื้อ. 2516. "ความเร็วกระแสชักนำประสาทสั่งการของคนไทย ", จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 18(2516), 315-321.

รางวัลหรือปริญญากิตติมศักดิ์ที่ได้รับ

- เหรียญทองรางวัลเรียนดีตลอดหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2495
- ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2528
- อาจารย์ดีเด่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2531
- ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2535
- ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2547
- ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2547
- ได้รับพระราชทานเหรียญรางวัล เจ้าฟ้าสุทธาทิพย์จากองค์อุปนายิกา สภากาชาดไทย ในฐานะที่เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ดีเด่น ในด้านการพัฒนาองค์กรและวิชาการให้แก่สภากาชาดไทย

หมายเหตุ

งานอดิเรกของ นายทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์ คือ อ่านหนังสือ มีเป้าหมายของชีวิตคือ จะทำงานที่รับผิดชอบให้ดีที่สุด และอยากจะเห็นประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย โดยไม่มีการปฏิวัติรัฐประหาร สำหรับเป้าหมายของการงานทั้งด้านวิชาการและบริหาร คือ การผลิตบุคลากรสาธารณสุขทุกประเภทให้ตรงกับ
ความต้องการของประเทศ
ปัจจุบัน นายทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์ พักอยู่ที่บ้านเลขที่
695 ถนนลาดพร้าว แขวงลาดยาว เขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร