โอภาส พิมพา

โอภาส พิมพา

Print Friendly, PDF & Email

โอภาส พิมพา

รศ.ดร.

การศึกษา

- วท.บ.(เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2534

- วท.ม.(สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2538

- Ph.D.(Ruminant Nutrition) University Putra Malaysia ปี 2545

การฝึกอบรม ดูงาน

- การฝึกอบรมการใช้ทรัพยากร ผลพลอยได้ทางการเกษตรเพื่อเป็นอาหารสัตว์ (11-17 มิถุนายน 2544  ณ Henan University (HENU), Henan, China)

- การฝึกอบรมการใช้สารกัมมัตภาพรังสี และวิธีการวิเคราะห์แทนนินในอาหารสัตว์  (30 พฤศจิกายน 2546-15 ธันวาคม 2546 ณ ศูนย์วิจัยปรมาณูเพื่อสันติภาพ (IAEA/FAO) ประเทศปากีสถาน)

- การดูงานด้านปศุสัตว์ และนิเทศนักศึกษาฝึกงาน (20 ตุลาคม 2555 กรมปศุสัตว์ เมือง Bogor ประเทศอินโดนีเซีย)

- อบรมการพัฒนาเครือข่ายสถาบันมหาวิทยาลัย  ASEAN,  Universities consortium on feed and agro-based engineering and technology education (27-29 ตุลาคม 2555 ที่เมือง Jakarta, Indonesia)

- ดูงานการบริหารระบบการศึกษาและหลักสูตรเชื่อมโยงในการทำ MOU กับ Shanghai University (11-13 มิถุนายน 2555 Shanghai University,  China)

- ดูงานการบริหารระบบการศึกษาและหลักสูตรเชื่อมโยงในการทำ MOU กับ Dagon University และ National University of  Myanmar (24 มกราคม 2557 Dagon University, National University of  Myanmar,  Myanmar)

- ดูงานการบริหารระบบการศึกษาและหลักสูตรเชื่อมโยงในการพัฒนาเครือข่ายการศึกษาระดับนานาชาติ (22-28 มีนาคม 2557 Vietnam University of Commerce,  Hanoi, Vietnam)

- อบรมและดูงานการบริหารระบบการศึกษาและการสร้างความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา ในการจัดอันดับนานาชาติ (7-11 เมษายน 2557 Cape Town,  Republic of South Africa)

- ศึกษาดูงาน  การพัฒนาระบบการเลี้ยงโคขุนแบบครบวงจร (7 พฤศจิกายน  2557 ณ ฟาร์มโคขุน Northern farm อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่)

- อบรม การแปรรูปเนื้อสัตว์ (2 เมษายน 2561 ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร)

- ดูงาน การพัฒนาการเลี้ยงสัตว์และระบบเกษตรกรรม (11 พฤศจิกายน 2562  ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ เมือง Pokhara,  Nepal)

สมาคม ชมรม มูลนิธิที่เป็นสมาชิก

- กรรมการ คณะกรรมการบริหาร  สมาคมนักอาหารสัตว์ไทย มีวาระ 2 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559-ตุลาคม 2561

- กรรมการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อทั้งระบบ ตามคำสั่งของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ 32/2559

- Editorial board members “Asian-Australasian Journal of Animal Science”  January 2018-December 2020.

- ที่ปรึกษาสภาเกษตรกรแห่งชาติ (คณะกรรมการด้านปศุสัตว์) ปี 2562-ปัจจุบัน

- สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 69/1 กรมปศุสัตว์ ถ.พญาไท แขวงพญาไท

- กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสุราษฏร์ธานี 2 ประจำปี 2561-2565

- กรรมการชมรมชาวอีสาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

- ที่ปรึกษาของคณะกรรมการบริษัทประชารัฐรักสามัคคีสุราษฏร์ธานี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ได้รับมติเห็นชอบเป็นที่ปรึกษา ในการประชุมครั้งที่ 4/2562

- ที่ปรึกษากลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงโคเนื้อห้วยโศก อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฏร์ธานี 2561-2563

- ที่ปรึกษากลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงสัตว์ อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฏร์ธานี 2555-2563

- ที่ปรึกษามูลนิธิสุขแก้ว แก้วแดง ในด้านการสร้างอาชีพประชาชนของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาสังคม ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2560-2562

- ที่ปรึกษากลุ่มเกษตรกรปลูกพืชสมุนไพรอินทรีย์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี 2562-2563

- ผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (กรอ.กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย) ปี 2561-2562

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ แก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันทั้งระบบของจังหวัดสุราษฏร์ธานี  ปี 2562

- ที่ปรึกษากลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อวิภาวดี  นิคมสหกรณ์ท่าฉาง 4/1 ม.4 ต.ตะกุกเหนือ  อ.วิภาวดี  จ.สุราษฏร์ธานี  ปี 2560-2562

การทำงาน

- นักวิทยาศาสตร์ ระดับ 4 (19 ธันวาคม 2538)

- อาจารย์ ระดับ 4 (1 ธันวาคม 2540)

- อาจารย์ ระดับ 5 (1 เมษายน 2545)

- อาจารย์ ระดับ 6 (1 เมษายน 2546)

- อาจารย์ ระดับ 7 (1 เมษายน 2547)

- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 7 (14 พฤษภาคม 2547)

- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 (1 ตุลาคม 2549)

- รองศาสตราจารย์  ระดับ 8 (2 พฤศจิกายน 2550)

- รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 (1 เมษายน 2552)

- รองศาสตราจารย์ (21 กันยายน 2553)

ตำแหน่งต่าง ๆ ทางการบริหาร งานวิชาการ และอื่น ๆ

- รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะเทคโนโลยีและการจัดการ (1 พฤษภาคม 2548-31 ธันวาคม 2550)

- รองคณบดี คณะเทคโนโลยีและการจัดการ (1 กันยายน 2550-31 ธันวาคม 2550)

- รองคณบดี คณะเทคโนโลยีและการจัดการ (1 มกราคม 2551-14 สิงหาคม 2551)

- กรรมการประจำคณะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (1 พฤศจิกายน 2551-31 ตุลาคม 2553)

- กรรมการประจำวิทยาลัย วิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี (21 เมษายน 2552-20 เมษายน 2554)

- กรรมการประจำวิทยาลัย วิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี (21 เมษายน 2554-20 เมษายน 2556)

- คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (1 มิถุนายน 2555-30 พฤษภาคม 2557)

 

ผลงานการบริหารขณะอยู่ในตำแหน่ง

- การจัดกิจกรรมนักศึกษา ในการมีส่วนร่วมพัฒนาอาคารสถานที่ ของมหาวิทยาลัย ในระดับสาขา ของคณะเทคโนโลยีและการจัดการ ขณะทำหน้าที่รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ปี 2548

- การจัดกิจกรรมนักศึกษา ในการประกวด ออกแบบโลโก้ของสาขาวิชา ของคณะเทคโนโลยีและการจัดการ ขณะทำหน้าที่รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ปี พ.ศ. 2548

- กิจกรรมส่งนักศึกษาไปฝึกงานต่างประเทศ ที่ประเทศมาเลเซีย เวียตนาม และอินโดนีเซีย ขณะทำหน้าที่คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2555-2557

- สร้างหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร ขณะทำหน้าที่คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2556-2557

- สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานราชการในพื้นที่ ในการพัฒนาอาชีพของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ขณะทำหน้าที่คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2555-2557

- นำอาจารย์ บุคลากร เดินทางไปศึกษาดูงานด้านการบริหารหลักสูตร ที่ประเทศ เวียตนาม  ขณะทำหน้าที่คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2557

- พัฒนาการเรียนการสอน งานวิจัย แบบบูรณาการกับผู้ประกอบการและประชาชน ในพื้นที่ภาคใต้ อย่างเป็นรูปธรรมในแต่ละสาขาวิชา ขณะทำหน้าที่คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2555-2557

- พัฒนาบริเวณที่ทำการคณะให้เป็น green  faculty ขณะทำหน้าที่คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2555-2557

- เทิดทูลและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์  โดยจัดทำซุ้มเฉลิมพระเกียรติ หน้าคณะ โดยใช้วัสดุในพื้นที่ ขณะทำหน้าที่คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2555-2557

- เปิดหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) ซึ่งตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการ และโรงงานอุตสาหกรรม ตาม พรบ. โรงงานอุตสาหกรรม และตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานฯ พ.ศ.2549 ขณะทำหน้าที่คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2555-2557

- จัดให้มีห้องประชุม และห้องใช้ในการสอนภายใต้การตัดสินใจของคณะ และจัดให้มีจอฉายขนาดใหญ่ในห้องประชุม โดยใช้งบกลยุทธของคณะ เพื่อความคล่องตัวของระบบการบริหารทรัพยากร ขณะทำหน้าที่คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2555-2557

- จัดให้มีกิจกรรมอวยพรวันเกิด และแสดงความดีใจ เสียใจ ในวาระโอกาสต่างๆ ของบุคลากร และคณาจารย์ในคณะอย่างทั่วถึง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจของบุคลากรในคณะ  ขณะทำหน้าที่คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2555-2557

- เริ่มใช้ facebook ของคณะ ควบคู่กับ website แขวนประชาสัมพันธ์กิจกรรมของคณะ และมีวารสารของคณะฯ ขณะทำหน้าที่คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2555-2557

- จัดให้มีกล่องรับร้องเรียน และแสดงความคิดเห็นที่หน้าคณะฯ ขณะทำหน้าที่คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2555-2557

- เพิ่มอัตลักษณ์ และสร้างความมีเอกลักษณ์ของบุคลากรและคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โดยการ จัดทำ ส.ค.ส ของคณะ และจัดทำนามบัตรให้บุคลากรในคณะอย่างทั่วถึง เพื่อใช้ในงานวิชาการ และการประชาสัมพันธ์ ขณะทำหน้าที่คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2555-2557

ผลงานทางวิชาการ

หนังสือ/ตำรา

- โอภาส  พิมพา  และทองสุข  เจตนา.  2547. การประเมินจุลินทรีย์โปรตีน โดยใช้สารอนุพันธ์พิวรีนในปัสสาวะของสัตว์เคี้ยวเอื้อง. โฟกัส มาสเตอร์พรินต์. 74 หน้า ISBN 974-7195-68-2

- โอภาส  พิมพา.  2550. ผลิตภาพของสัตว์.  บ.สุวรรณอักษร  จำกัด. 289 หน้า ISBN 978-974-09-0968-2

บทความวิชาการ

- Jeendoung T., Pimpa O. and Thepparat T. 2014. Egg production potential of Thai Indigenous chicken raised in individual battery cage, floor pen and free range under rural condition. Proccding of the 16th AAAP Animal Science congress Vol.11, 10-14 November 2014. Gadjah Mada University, Yogyakata, Indonesia.

- Khamseekhiew B., Pimpa O. and Jettana T. 2015. Productive performance and production cost of different cross bred meat Goats fed high levels of OPL in fermented TMR. The 5th International conference on Sustainable Animal Agriculture for Developing Countries (SAADC 2015) October 27-30, 2015. Dusit Thani Pattaya Hotel, Thailand.

- Binsulong B., Pastsart U. and Pimpa O. 2016. Effect of using oil palm fronds and Napier grass as roughage in total mixed ration supplemented with bypass fat on meat quality of feedlot cattle. The 62nd International Congress of Meat Science and Technology, 14-19 August 2016, Bangkok, Thailand.

- Binsulong B., Pastsart U. and Pimpa O. 2016. The effect of oil palm frond and Napier grass as roughage in total mixed ration (TMR) supplemented with bypass fat on growth performance of feedlot. The 5th National Animal Science conference, 28-30 June 2016. Khon Kaen Thailand.

Pimpa O. 2016. Animal production and technology transfer. The 5th National Animal Science conference, 28-30 June 2016. Khon Kaen University Thailand.

- Khamseekhiew B., Pimpa O., Jettana T. and Nakaviroj P. 2017. Effects of oil palm leaflets in total mixed ration on nitrogen utilization, rumen fermentation and growth in goats. The 6th International Conference on Sustainable Animal Agriculture for Developing Countries. (SAADC 2017) October 16-19, 2017. Batu, East Java, Indonesia.

Pimpa O., Khamseekhiew, B. and  Pimpa, B. 2017. Dietary protein requirement for maintenance and growth of Southern Thai indigenous cattle. The 2nd International Conference on Animal Nutrition and Environment. November 1-4, 2017. Khon Kaen, Thailand.

Pimpa O. 2017. The innovation of teaching in beef and dairy production subject  by problem based  learning. The 1st conference in active learning: classroom of the future. Walailak University. 27-28 March  2017.

Pimpa  O.  2018. Innovation teaching by using virtual video clips to integrate with technology transfer. The 6th Active learning Thailand 4.0, 26-27 March 2018. Walailuk University, Nakornsritamarach Thailand.

- Khamseekhiew B., Pimpa  O. and  Nakaviroj P. 2018. Determination of the relationship between chemical composition, condensed tannin and in vitro gas production and degradability of different  shoot  parts  of Leucaena  leucocephala . The 7th National Animal Science conference, 22-24  August 2018. Maejo University, Chaing Mai,  Thailand.

- Mattaphong I.,  Khamseekhiew  B., Pimpa  O. and  Rattanawut J. 2018. The study of the goat marketing of small holder raised  in upper southern Thailand. The 7th National Animal Science conference, 22-24  August 2018. Maejo University, Chaing Mai,  Thailand.

- Khamseekhiew B., Pimpa  O. and Nakaviroj P. 2018. Comparative drying methods on condensed tannin contents and in vitro gas production in Leucaena leucocephala, Acacia mangium Willd and oil palm (Elaeis guineesis Jacq) frond. Khon Kaen Agr. J. 48 suppl. 1(2018).

- Pastsart U. and Pimpa, O. 2019. Meat quality, colour stability, lipid and protein oxidation of broilers on diets supplemented with Piper sarmentosum leaves. Indian Journal of Animal Research, 53(8): 1064-1068.

- Rattanawut J.,  Pimpa O. and  Yamauchi K. 2018. Effects of dietary bamboo vinegar supplementation on performance, eggshell quality, ileal microflora composition, and intestinal villus morphology of laying hens in the latephase of production. Animal  Science  Journal. 1–9.

Pimpa O., Khamseekhiew B. and Pimpa B. 2018.  Dietary Protein Requirement for Maintenance and Growth of Southern Thai Indigenous Cattle.  Advances in Ecological and Environmental Research (ISSN 2517-9454, USA), 155-160.

- Sittiprakan  A., Pimpa O., Khamseekhiew B., Pimpa  B. and Patsart U.  2018. Effect of using  fermented decanter cake in total mixed ration of beef cattle on feed intake digestibility  and growth rate. The 12th National Conference on Research Network of Higher Education Institutions Nationwide. Trung province. May 27-29, 2018.

Pimpa O., Binsulong B., Pastsart  U., and  Pimpa B. 2019. Effect of oil palm frond as fiber source in total mixed ration on growth performance, carcass quality and economic return of feedlot cattle. The 7th International Conference on Sustainable Animal Agriculture for Developing Countries. (SAADC 2019) November 8-11, 2019. Pokhara, Nepal.

- Khamseekhiew B., Suttinoon W., Pingpittayakul P., Muangchan P., Mayeetae Y., Mattaphong I. and Pimpa O. 2019. Quality attributes and sensory evaluations of different flavoured goat milk yogurt. Khon Kaen Agr. J. 47 suppl. 1, 93-98.

Pimpa O., Pimpa B. and Liang J.B. 2019. Palm oil decanter cake: a viable substitution for commercial concentrate in small-holder cattle farms. The 7th International Conference on Sustainable Animal Agriculture for Developing Countries. (SAADC 2019) November 8-11, 2019. Pokhara, Nepal.

Pimpa O., Tipmontean B., Youngyai N. and Pimpa B. 2019. The Development of Beef Cattle Farmer Group of Suratthani Province for Response to Supply Chain. Area based development research Journal. V.11 No.5, pp 380-393.

Pimpa O., Khamseekhiew  B., Pimpa B. and Louchareansuk S. 2019. The Occupational Development of Beef Farming in Pattani  Province with the Use of Local Resources and Biotechnology Application for Fermented Animal Feed Production. Area based development research Journal. V.11 No.6, pp 477-487.

Pimpa O., Khwankaew S., Pimpa B., Khamseekhiew B. and Pastsart U. 2019.  The effect of liquid fermented herb on feed intake and digestibility of Wagyu crossbred Cattle. Khon Kaen Agr. J. 47 suppl. 1, 127-130.

- Khwankaew S., Khwanmaung  N., Pimpa B. and Pimpa O. 2019. The effect of yeast and rumen fluid supplementation in fermented feed. Khon Kaen Agr. J. 47 suppl. 1, 123-126.

Pimpa O., Khamseekhiew B., Pimpa B. and  Louchareansuk S. 2019. Effectiveness of biogas technology transfer in animal production farm at Southern of Thailand. Khon Kaen Agr. J. 47 suppl. 2, 376-378.

- Mattaphong I., Khamseekhiew B. and Pimpa O. 2019. Utilization of Leucaena leucocephala silage on growth and economic comparison in Santa Ines sheep. Khon Kaen Agr. J. 47 suppl. 2, 830-836.

- Prasomsuk R., Khamseekhiew  B.  and  Pimpa  O. 2019. Comparative growth performance and economic return of goat breeds fed sole Leucaena (Leucaena leucocephala) forage. Khon Kaen Agr. J. 47 suppl. 2, 270-274.

งานวิจัย

- โครงการวิจัย ผลของแทนนินที่ได้จากใบกระถินต่อการย่อยได้ของโปรตีนหยาบและกรดแอมิโนที่สำคัญในส่วนรูเมนและลำไส้เล็ก ระยะเวลาดำเนินการวิจัย : 1 มกราคม 2547-30 ธันวาคม 2547 แหล่งทุน: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ งบประมาณ 200,000 บาท

- โครงการวิจัย Chemical composition and digestibility of oil palm and palm oil by-products in southern Thailand: Study In Sacco digestibility in swamp buffalo.  ระยะเวลาดำเนินการวิจัย : 1 ตุลาคม 2547-30 ตุลาคม 2548  แหล่งทุน: กองทุนสนับสนุนงานวิจัย คณะเทคโนโลยีและการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  งบประมาณ  50,000  บาท

- โครงการวิจัย Research and technology transfer of production of oil palm frond silage for ruminant feed in North-Southern region of Thailand. ระยะเวลาดำเนินการวิจัย : 1 ตุลาคม 2548-30 ตุลาคม 2549  แหล่งทุน : เครือข่ายการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)   ภายใต้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์แม่ข่าย มีการบริการวิชาการแก่เกษตรกรโดยทุน สกอ. งบประมาณ 300,000 บาท

- โครงการวิจัย  Establishment of feeding standard of beef cattle and feedstuff database in Indochina : Project title: Rumen degradability of palm oil by-products and their potential use in ruminant diets. ระยะเวลาดำเนินการวิจัย : 1 มกราคม 2549-30 มกราคม 2550  แหล่งทุน : Japan International Research Center for Agricultural Science (JIRCAS) under collaboration with Department of Livestock Development (DLD) Thailand. งบประมาณ 200,000 บาท มีการบริการวิชาการและจัดทำคู่มือความต้องการโภชนะของโคเนื้อประเทศไทย ร่วมกับกรมปศุสัตว์

- โครงการวิจัย Establishment of feeding standard of beef cattle and feedstuff database in Indochina : Project title: Rumen degradability of palm oil by-products and their potential use in ruminant diets. ระยะเวลาดำเนินการวิจัย : 1 มกราคม 2549-30 มกราคม 2550  แหล่งทุน : Japan International Research Center for Agricultural Science (JIRCAS) under collaboration with Department of Livestock Development (DLD) Thailand. งบประมาณ 200,000 บาท มีการบริการวิชาการและจัดทำคู่มือความต้องการโภชนะของโคเนื้อประเทศไทย ร่วมกับกรมปศุสัตว์

- โครงการวิจัย สถานภาพการผลิตโคเนื้อและเนื้อโคของจังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นการศึกษาการผลิตโคเนื้อและเนื้อโคตามห่วงโซ่อุปทาน ของจังหวัดสุราษฏร์ธานี ระยะดำเนินการวิจัย ปี 2551-2552 แหล่งทุน  สกว. งบประมาณ  580,766.96 บาท มีกิจกรรมบริการวิชาการโดยได้รับทุนสนับสนุนจาก CILO ต่อยอด

- โครงการวิจัย การใช้ผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลแบบวิถีชาวบ้านเพื่อผลิตเป็นส่วนประกอบของอาหารโค (ภายใต้โครงการชุด การใช้ประโยชน์จากปาล์มน้ำมันแบบครบวงจร) โครงการวิจัยภายใต้โครงการเครือข่ายการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน สกอ. ปีงบประมาณ  2552 งบประมาณ  200,000 บาท

- โครงการวิจัย  เศรษฐกิจของระบบการเลี้ยงสัตว์ในสวนปาล์ม: กรณีศึกษาต้นทุนการเลี้ยงโคเนื้อโดยใช้ทางใบปาล์มเป็นอาหารหยาบ และใช้ไส้เดือนเพื่อการผลิตปุ๋ยในสวนปาล์มจากมูลโค แหล่งทุน : สกว. ปี 2550-2551 งบประมาณ  529,016 บาท

- โครงการวิจัย  โครงการศึกษาการผลิตแร่ธาตุก้อนในการเลี้ยงโคเนื้อโดยใช้ขี้เค้กจากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ระยะดำเนินการ ปี 2551-2552  แหล่งทุน สกอ. ภาคใต้ตอนบน มีการบริการวิชาการโดยใช้ทุนสนับสนุนของ สกอ. งบประมาณ  240,000 บาท

- โครงการวิจัย  การใช้น้ำมันปาล์มดิบร่วมกับเปลือกหอยป่นและกากถั่วเหลืองเพื่อผลิตไขมัน-โปรตีนไหลผ่านการหมักในกระเพาะรูเมน งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552-2553  จำนวน 756,800 บาท ต่อเนื่อง 2 ปี

- โครงการวิจัย การศึกษาความหลากหลายของสัตว์ป่าและแหล่งอาหารสัตว์ป่าในพื้นที่เขื่อนรัชประภา ทุนสนับสนุนโครงการวิจัยโครงการสำรวจทรัพยากรกายภาพและชีวภาพพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช เขื่อนรัชประภา ภายใต้งบแผ่นดินปี 2552 งบประมาณ 223,000 บาท

- โครงการวิจัย ผลของการใช้น้ำหมักกะปิ กากตะกอนน้ำมันปาล์มและกากส่าเหล้าเพื่อผลิตน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักสำหรับปาล์มน้ำมัน ภายใต้แผนงานวิจัย โครงการวิจัยและพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย งบสนับสนุนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปี 2553-2554 ทุนวิจัยจำนวน  170,000 บาท มีการบริการวิชาการโดยการสนับสนุนของ สปก. สุราษฏร์ธานี

- โครงการวิจัย เรื่องการใช้กากตะกอนน้ำมันปาล์มร่วมกับน้ำมันปาล์มดิบเพื่อผลิตอาหารเสริมไขมันไหลผ่านต่อองค์ประกอบน้ำนมของโค ทุนอุดหนุนจากงบประมาณวิจัยมหาวิทยาลัยแห่งชาติประจำปี 2555 งบประมาณ 250,000 บาท

- โครงการวิจัย การศึกษาการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรรายย่อยโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฏร์ธานี ระยะเวลาดำเนินการวิจัย : 1 มกราคม 2554-30 กันยายน 2555 แหล่งทุน :  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) งบประมาณ 471,200 บาท

- โครงการวิจัย การศึกษาการผลิตอาหาร TMR สำหรับการเลี้ยงโคเนื้อ กรณีศึกษาโคขุนศรีวิชัย ระยะดำเนินการ 2557-2558 ได้รับทุนสนับสนุนจาก สกว. งบประมาณ 938,564 บาท

- โครงการวิจัยเรื่อง ศักยภาพการผลิตแพะเนื้อในจังหวัดสุราษฏร์ธานี งบประมาณเงินอุดหนุนการวิจัยจากเงินรายได้มหาวิทยาลัย ประจำปี 2554 จำนวน 136,800  บาท

- โครงการวิจัยเรื่อง การใช้ใบปาล์มน้ำมันเป็นแหล่งอาหารหยาบหลักในสูตรอาหารผสมสำเร็จต่อสมรรถภาพการผลิตแพะเนื้อและแพะนม งบประมาณเงินอุดหนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 3 ปีต่อเนื่อง ประจำปี 2553-2556 จำนวน 1,192,400 บาท

- โครงการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี การใช้กากส่าเหล้าจากส่วนล้นบ่อแก๊สชีวภาพในการผลิตอาหารสัตว์ แหล่งทุนสนับสนุน กระทรวงวิทยาศาสตร์ ปี 2560  งบประมาณ 248,760 บาท โครงการนี้ทำวิจัยและถ่ายทอดสู่ชุมชนด้วย ที่จังหวัดกระบี่ และสุราษฏร์ธานี ในหัวข้อการบริการวิชาการจะนำเสนอต่อไป

- โครงการวิจัย การเพิ่มมูลค่าและเพิ่มคุณภาพเนื้อโคขุนของเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการเสริมพืชสมุนไพรท้องถิ่น ระยะดำเนินการ 2560-2561 สัญญาที่ RDG60T0113 ได้รับทุนสนับสนุนจาก สกว. งบประมาณ 952,000 บาท

- โครงการวิจัยเรื่อง ศูนย์วิจัยและการเรียนรู้การเลี้ยงโคเนื้อคุณภาพเพื่อความมั่นคั่งของเกษตรกรชายแดนใต้ สัญญาเลขที่ วช(ก)(กปจ) 38/2562  ลงวันที่ 12  กุมภาพันธ์ 2562 แหล่งทุน : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) งบประมาณ 1,000,000 บาท

- ผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อชุมชน ประจำปี 2550 หน่วยงานที่ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอบใน วันที่ 16  มิถุนายน ปี 2551 ชื่อผลงานการใช้ผลพลอยได้จากปาล์มน้ำมันและอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในการเลี้ยงโคและแพะ

- ผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อชุมชน ประจำปี 2555 ชื่อผลงาน สถานภาพการผลิตโคเนื้อและเนื้อโคของจังหวัดสุราษฏร์ธานี มอบโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วันที่ 17 มิถุนายน 2556

- ผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อชุมชน ประจำปี 2558  เรื่องการศึกษาการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรรายย่อยโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฏร์ธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอบในวันที่ 13 มีนาคม 2560

- ผลงานจากการส่งเสริมนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่น ปี 2559 จากมูลนิธิรางวัลไทย  สถาบันพัฒนาท้องถิ่น มอบรางวัลโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี

- ผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อชุมชน ประจำปี 2560-2561 เรื่องโครงการพัฒนาอาหารผสมเสร็จ (TMR) ที่ใช้ทางใบปาล์มน้ำมันเป็นแหล่งอาหารหลัก ร่วมกับการเสริมไขมันไหลผ่านเพื่อการผลิตโคขุนของภาคใต้ตอนบน : กรณีศึกษาโคขุนศรีวิชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอบในวันที่ 13  มีนาคม 2562 ในงานวันคุณค่าสงขลานครินทร์

- ผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อชุมชน ประจำปี 2562 เรื่อง การเพิ่มมูลค่าและเพิ่มคุณภาพเนื้อโคขุนของเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการเสริมพืชสมุนไพรท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  มอบในวันที่ 13 มีนาคม 2563 ในงานวันคุณค่าสงขลานครินทร์

 

 

 

รางวัลหรือปริญญากิตติมศักดิ์ที่ได้รับ

รางวัลด้านงานวิจัย และบริการวิชาการ

- รางวัลผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อชุมชน ประจำปี 2550 หน่วยงานที่ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอบในวันที่ 16 มิถุนายน ปี 2551 ชื่อผลงานการใช้ผลพลอยได้จากปาล์มน้ำมันและอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในการเลี้ยงโคและแพะ

- รางวัลนักวิจัยดีเด่นของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ประจำปี 2552 มอบโดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วันที่ 17 พฤษภาคม 2553

- รางวัลนักวิจัยดีเด่น ประเภทนักวิจัยที่มีความสามารถในการบริหารงานวิจัย ประจำปี 2553  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอบ ณ วันที่ 14 กรกฏาคม 2553 หน่วยงานที่ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

- รางวัลผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อชุมชน ประจำปี 2555 ชื่อผลงาน สถานภาพการผลิตโคเนื้อและเนื้อโคของจังหวัดสุราษฏร์ธานี มอบโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วันที่ 17 มิถุนายน 2556

- รางวัลบุคคลตัวอย่างแห่งปี  สาขาวิจัยและพัฒนา  รางวัลไทย  รางวัลเกียรติยศบนเส้นทางชีวิต มอบโดยคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน รางวัลไทย ฯพณฯ พลเอก พิจิตร  กุลละวณิชย์ องคมนตรี  ปี 2556

- รางวัลผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อชุมชน ประจำปี 2558  เรื่องการศึกษาการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรรายย่อยโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฏร์ธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอบในวันที่ 13 มีนาคม 2560

- รางวัลนักส่งเสริมนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่น ปี 2559 จากมูลนิธิรางวัลไทย สถาบันพัฒนาท้องถิ่น มอบรางวัลโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี

- รางวัล Best practice awards 2017 สาขาวิจัยและพัฒนาสู่ชุมชน รางวัลไทย ประกาศเกียรติคุณ “ความดี ตอบแทนคุณแผ่นดิน” เพื่อแสดงการสร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวม สังคมและประเทศชาติ มอบโดย ฯพณฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์  องคมนตรี ในวันที่ 29 กันยายน 2560

- โล่รางวัลเกียรติยศ รางวัลผลงานวิจัยเด่นด้านนโยบายของ สกว. ภายใต้ชุดโครงการ “การขยายโอกาสธุรกิจเนื้อโคไทย” เป็นชุดโครงการที่ถูกนำไปใช้เป็นข้อมูลเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย ในการจัดทำกรอบแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์และการพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อไทยทั้งระบบ มอบโล่รางวัลวันที่ 23  พฤษภาคม 2561 ณ โรงแรมสวิส โซเทล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ มอบโดย รองนายกรัฐมนตรี พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง ปี 2561

- รางวัลผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อชุมชน ประจำปี 2560-2561 เรื่องโครงการพัฒนาอาหารผสมเสร็จ (TMR) ที่ใช้ทางใบปาล์มน้ำมันเป็นแหล่งอาหารหลัก ร่วมกับการเสริมไขมันไหลผ่านเพื่อการผลิตโคขุนของภาคใต้ตอนบน : กรณีศึกษาโคขุนศรีวิชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอบในวันที่ 13  มีนาคม 2562 ในงานวันคุณค่าสงขลานครินทร์

- รางวัลผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อชุมชน ประจำปี 2562 เรื่อง การเพิ่มมูลค่าและเพิ่มคุณภาพเนื้อโคขุนของเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการเสริมพืชสมุนไพรท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอบในวันที่ 13  มีนาคม 2563 ในงานวันคุณค่าสงขลานครินทร์

- รางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตำแหน่งอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2561 สาขารับใช้สังคม จัดโดยที่ประชุมสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.)

- รางวัลนักวิจัยที่มีผลงาน corresponding author ที่มีผลงานตีพิมพ์ในฐานข้อมูล web of science ตั้งแต่ 5 บทความขึ้นไป ประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอบในวันที่ 13  มีนาคม 2562 ในงานวันคุณค่าสงขลานครินทร์

- รางวัลการนำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยาย ประเภทอาจารย์/นักวิจัย  ระดับดีเด่น  ในการประชุมวิชาการสัตวศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2562 “นวัตกรรมการผลิตปศุสัตว์อย่างยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0” ระหว่างวันที่ 12-15 มิถุนายน 2562  ณ โรงแรมดวงจิตต์ รีสอร์ท แอนด์ สปา ภูเก็ต โดยสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ร่วมกับภาคีเครือข่ายสัตวศาสตร์แห่งประเทศไทย

- รางวัลอาจารย์ผู้บริการวิชาการดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2560 ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอบวันที่ 13 มีนาคม 2561 ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ปี 2561

- รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขาบริการรับใช้สังคม ของที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ปอมท. ปี 2561

รางวัลด้านการเรียนการสอน

- รางวัลอาจารย์ที่เป็นที่รัก ชื่นชม และศรัทธา ของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ประจำปี 2555 มอบโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

- รางวัลสุดยอดครูดี ระดับจังหวัด โครงการ “ครูดีมีทุกวัน. ระดับจังหวัด ประจำปี พ.ศ. 2557 มอบโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.)ณ วันที่ 16 มกราคม 2558

- รางวัลบุคลากรดีเด่น กลุ่มที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม   ประจำปี 2559 มอบโดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ณ วันที่ 13  มีนาคม 2560

- รางวัลไทย “คนดี ความดี ทดแทนคุณแผ่นดิน” รางวัลไทย ประจำปี 2558  สาขาบริหารการศึกษา มอบโดย ฯพณฯ อำพล เสนาณรงค์ องคมนตรีในรัชกาลที่ 9

รางวัลด้านคุณธรรมและจริยธรรม

- รางวัลบุคคลต้นแบบ ประเภท คุณธรรม 9 ประการ ตามพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ด้านเศรษฐกิจพอเพียง มอบโดยจังหวัดสุราษฏร์ธานี ร่วมกับสภาวัฒนธรรม จังหวัดสุราษฏร์ธานี วันที่ 28  มีนาคม 2560

- รางวัล ฐานะอาจารย์ที่เป็นที่รัก ชื่นชม และศรัทธา ของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอุตสาหกรรม ประจำปี 2556 มอบโดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วันที่ 16  มกราคม  2556

รางวัล/ประกาศเกียรติคุณที่ได้รับทางด้านการอุทิศตนเพื่อส่วนรวม

- รางวัลนักสัตวบาลดีเด่น สายวิชาการ ของสมาคมสัตวบาลในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มอบโดย ฯพณฯ อำพล เสนาณรงค์ องคมนตรีในรัชกาลที่ 9 ปี 2560

- รางวัลบุคลากรดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2556 กลุ่มที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มอบโดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วันที่ 13  มีนาคม 2557

- รางวัล ศิษย์เก่าเกียรติยศ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านพัฒนาสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ มอบโดยนายกสมาคมศิษย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 23 มกราคม 2559

- รางวัล เชิดชูเกียรติ บุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ทำคุณประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ประจำปี 2560 ในวัน “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” มอบ ณ วันที่ 24  กันยายน 2560 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

หมายเหตุ