เจริญ นาคะสรรค์

เจริญ นาคะสรรค์

Print Friendly, PDF & Email

เจริญ นาคะสรรค์

รศ.ดร.

ประวัติ

- รศ.ดร. เจริญ นาคะสรรค์ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2506  ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ

- เป็นบุตรของนายช่วง  นาคะสรรค์ และนางทรัพย์  นาคะสรรค์

- สมรสกับนางอุไร  นาคะสรรค์ มีบุตรชาย 2 คน

- สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

  1. Ph.D. (Polymer Rheology and Processing)

  2. Polymer Rheology

  3. Chemical Modification of NR

  4. Polymer Blends.

การศึกษา

ปริญญาตรี วท.บ. (เคมี) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปี 2529

ปริญญาโท วท.ม. (วิทยาศาสตร์โพลิเมอร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2534

ปริญญาเอก Ph.D. (Polymer rheology & processing) University of Bradford, England ปี 2540

การฝึกอบรม ดูงาน

สมาคม ชมรม มูลนิธิที่เป็นสมาชิก

การทำงาน

ตำแหน่งต่าง ๆ ทางการบริหาร งานวิชาการ และอื่น ๆ

- คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (1 เม.ย.2553 - 31 ก.ค.2555)

- รองอธิการบดีวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  (1 มิ.ย.2555 - 31 พ.ค.2558)

- คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (1 ส.ค.2555 - 31 ต.ค.2555)

- คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (30 พ.ค.2557 - 29 พ.ย.2557)

- รองอธิการบดีวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  (1 มิ.ย.2558 - 31 พ.ค.2561)

- คณบดี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ (1 มิ.ย.2558)

- รองอธิการบดีวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  (1 มิ.ย.2561 - ปัจจุบัน)

ผลงานการบริหารขณะอยู่ในตำแหน่ง

ผลงานทางวิชาการ

รางวัลหรือปริญญากิตติมศักดิ์ที่ได้รับ

ด้านการวิจัย

- ผลงานวิจัยเด่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประจำปี 2557 เรื่องเทคโนโลยีการเคลือบสระกักเก็บน้ำด้วยน้ำยางเข้มข้นชนิดครีม เป็นผลงานวิจัยเด่นด้านพาณิชย์

- รางวัลเหรียญทองผลงานกาวสำหรับติดยางกับโลหะโดยใช้กาวรองพื้น (ไพรเมอร์) และกาวยางธรรมชาติ จากการเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการในงาน 42nd International Exhibition of Inventions of Geneva ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 2-6 เมษายน 2557 จัดโดย The World Intellectual Property Organization (WIPO) ภายใต้การสนับสนุนของ Swiss Federal Government of the State

- นักวิจัยที่ผลงานได้รับการจดอนุสิทธิบัตร ประจำปี 2557

- นักวิจัยที่ผลงานวิจัยได้รับรางวัลระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2557

- นักวิจัยที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์สูงสุด 20 อันดับแรก จากฐานข้อมูล Web of Science ประจำปี 2557

- นักวิจัยที่ผลงานตีพิมพ์ได้รับการอ้างอิงบทความสูงสุด 20 อันดับแรก จากฐานข้อมูล Web of Science ประจำปี 2557

- นักวิจัยที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์ด้านยางธรรมชาติสูงที่สุดในประเทศไทย และมีผลงานตีพิมพ์เรื่อง The grafting of maleic anhydride onto natural rubber (C. Nakason, A. Kaesaman, P. Supasanthitikul, Polymer Testing, 2004, 23(1): 35-41) ได้รับการอ้างอิงสูงที่สุด 3 อันดับแรกของประเทศ (ที่มา: การรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูล ISI:WOS และเผยแพร่ในสารสนเทศเชิงวิเคราะห์ ฉบับที่ 5/2551
โดย รังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่ ศูนย์บริการความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี STKS สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ,  http://www.stks.or.th/web/index.php?option=com_content&task=view&id=589&Itemid=104)

- นักวิจัยที่เป็น Corresponding Author ตั้งแต่ 3 บทความขึ้นไป จากฐานข้อมูล Web of Science ประจำปี 2557

- นักวิจัยที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์สูงสุด 20 อันดับแรก (อันดับ 9) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากฐานข้อมูล ISI ปี 2008 (พ.ศ. 2551)

- นักวิจัยที่ผลงานตีพิมพ์ได้รับการอ้างอิง (citation) สูงสุด 20 อันดับแรก (อันดับที่ 6) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากฐานข้อมูล ISI ปี 2008 (พ.ศ. 2551)

- อาจารย์ตัวอย่างของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2551 ด้านการวิจัย สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

- เครือข่ายวิจัยดีเด่น ประจำปี 2551 ประเภทสถานวิจัยความเป็นเลิศดีเด่น สถานวิจัยความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยียางพารา

- นักวิจัยที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์สูงสุด 20 อันดับแรก (อันดับ 9) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากฐานข้อมูล ISI ช่วงปี 2006-2007 (พ.ศ. 2549-2550)

- นักวิจัยที่ผลงานตีพิมพ์ได้รับการอ้างอิง (citation) สูงสุด 20 อันดับแรก (อันดับที่ 14) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากฐานข้อมูล ISI ช่วงปี 2006-2007 (พ.ศ. 2549-2550)

- นักวิจัยที่ผลงานได้รับคัดเลือกเป็นนวัตกรรมและผลงานวิจัยดีเด่น ในโอกาสครบรอบ 40 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปี 2550

- รางวัลนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยได้รับรางวัลจากหน่วยงานระดับชาติ ประจำปี พ.ศ. 2550

- นักวิจัยที่มีจำนวนผลงานสูงสุด 20 อันดับแรก (อันดับที่ 10) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากฐานข้อมูล ISI  ช่วงปี 2000-2005   (พ.ศ. 2543-2548)

- รางวัลโครงการวิจัยดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2548 ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายอุตสาหกรรม ชื่อผลงาน กาวจากน้ำยางกราฟต์โคพอลิเมอร์ของยางธรรมชาติกับพอลิเมทิลเมทาคริเลท

- อาจารย์ตัวอย่างด้านการวิจัย ประจำปี พ.ศ. 2546 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

- รางวัลชนะเลิศโปสเตอร์ใน Polymer Processing Conference เรื่อง Latex Foam Rubber based on Graft Copolymer of Natural and Methyl Methacrylate  ปี พ.ศ. 2542

- ทุนวิจัยหลังปริญญาเอก สกว พ.ศ. 2542-2544

- ทุนพัฒนานักวิจัย (เมธีวิจัย สกว) พ.ศ. 2545-2548

- ทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษก รุ่นที่ 6 ปี พ.ศ. 2546 (ดร. อโนมา ธิติธรรมวงศ์), รุ่นที่ 7   ปี พ.ศ. 2547 (ดร. ปุญญานิช อินทรพัฒน์), รุ่นที่ 8 ปี พ.ศ. 2548 (นางสาวมัสวานี นราธิชาติ), รุ่นที่ 9 ปี พ.ศ. 2549 (นายสุบฮาน สาและ), รุ่นที่ 10 ปี พ.ศ. 2550 (นางสาวสกุลรัตน์  พิชัยยุทธ์), รุ่นที่ 11 ปี พ.ศ. 2551 (นายเอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี), รุ่นที่ 12 ปี พ.ศ. 2552,  และอีกหลายรุ่นจนถึงปัจจุบัน (2562) ทุนปริญญาโท-เอก โครงการเครือข่ายเชิงกลยุทธ์เพื่อการผลิตและพัฒนาอาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษา สกอ ปี พ.ศ. 2551, โครงการทุนสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย (TGIST) ปี พ.ศ.

- ทุนเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยของอาจารย์รุ่นกลางในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2549-2552

- นักวิจัยที่มีผลงานที่ได้รับการจัดอันดับใน Science Direct Top 25 Hottest Articles โดยฐานข้อมูล ScienceDirect จากการจัดอันดับบทความที่มีผู้เรียกใช้มากที่สุด 25 อันดับแรก ในสาขา Chemistry และวารสาร Polymer Testing มีผลงาน 8 เรื่อง ที่ได้รับการจัดอันดับในช่วง January 2006- March 2009

- นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ ปี  พ.ศ. 2553

- รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมูลนิธิโทเร ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2553

- รางวัลนักวิจัย The BLUE Jacket ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปี พ.ศ. 2554

- รางวัลวิจัย สภาวิจัยแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2555

ด้านบริการวิชาการ

- รางวัลที่ปรึกษาโรงงานอุตสาหกรรมดีเด่น ระดับประเทศ จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม  วันที่ 14  พฤษภาคม 2546 ณ โรงแรมเจ บี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จากคุณสุมลมาลย์ กัลยาศิริ อธิบดีกรมส่งเสริม อุตสาหกรรม

- รางวัลบุคลากรที่สร้างชื่อเสียงให้คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ปี พ.ศ. 2549

หมายเหตุ